Cloud Concepts
Cloud Concepts — Principles of cloud computing
Cloud Computing คืออะไร
คือบริการให้เช่าทรัพยากรบนคอมพิวเตอร์โดยที่เราจ่ายเงินค่าบริการเท่าที่ใช้ตามจริงเท่านั้น ตัวอย่างบริการก็เช่น
- Compute Power เช่น Linux Servers และ Web Applications
- Storage เช่น ไฟล์, ฐานข้อมูล
- Networking เช่น การเชื่อมต่ออย่างปลอดภัยระหว่าง Cloud Provider และผู้ใช้
- Analytics เช่น Visualizing Telemetry และ Performance Data
Cloud Provider คืออะไร
คือผู้ให้บริการที่มีมาตรฐานทั้ง 5 คุณสมบัตินี้ครับ (Five characteristics of cloud computing) เช่น Microsoft, Amazon และ Google
- On-demand self-service
- Broad network access
- Multi-tenancy and resource pooling
- Rapid elasticity and scalability
- Measured service
ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ ที่นี้
ประโยชน์ของ Cloud Computing
- คุ้มค่าต่อการลงทุน (Cost-Effective)
- สามารถปรับขนาดได้ (Scalable)
- มีความยืดหยุ่นสูง (Elastic)
- เราดูแลเฉพาะพัฒนาระบบเพียงอย่างเดียว อย่างอื่นให้ Cloud - Provide ช่วยดูแลให้ (Current)
- น่าเชื่อถือ (Reliable)
- มีบริการครอบคลุมทั่วโลก (Global)
- มีความปลอดภัยสูง (Secure)
Cloud Computing Compliance
Azure จริงจังกับเรื่องการของบริการที่ตอบรับกับ Compliance ต่างๆในระดับสากล ตัวอย่างเช่น GDPR ในสหภาพยุโรป, HIPAA, ISO และยังรวมไปถึง PDPA ของประเทศไทยด้วยน่ะครับ
ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ที่นี้
ตัวอย่าง Compliance Offerings ครับ
Economies of Scale
เป็นจุดเด่นของ Cloud Computing ที่ช่วยลดต้นทุนแต่ได้ผลลัพธ์ที่มากขึ้นในการดำเนินกิจการ โดยจะมีแผนการลงทุนสองรูปแบบที่เกี่ยวข้องได้แก่
Capital Expenditure (CapEx)
เป็นการลงทุนค่าใช้จ่ายโดยทั่วไปของ On-Premises Data Center ที่ต้องลงทุนล่วงหน้าไปกับ Physical Infrastructure ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายล่วงหน้าที่สูงมาก เพราะต้องลงทุนกับ Server, Storage, Network, Backup, Disaster Recovery, Data Center Infrastructure และยังต้องการผู้เชี่ยวชาญในการดูแลอีกด้วยครับ
ข้อดีของ CapEx คือทราบตัวเลขการลงทุนที่ชัดเจนว่าจะต้องจ่ายแค่ไหนและเมื่อไร เพราะสามารถวางแผนค่าใช้จ่ายได้ล่วงหน้าตั้งแต่เริ่มโครงการ หรือจะวางแผนตามรอบระยะเวลางบประมาณ
Operational Expenditure (OpEx)
เป็นการลงทุนค่าใช้จ่ายบน Cloud Computing ซึ่งเป็นการลงทุนกับสินค้าและบริการเท่าที่ได้ใช้งานและไม่มีค่าใช้จ่ายล่วงหน้าเหมือน CapEx
ค่าบริการมีได้หลายรูปแบบ เช่น เรียกเก็บตามจำนวนผู้ใช้งาน, ตามระยะเวลาที่ใช้งาน CPU, RAM, IOPS หรือตามปริมาณพื้นที่จัดเก็บข้อมูล รวมไปถึงการคิดค่าบริการตามจำนวน bandwidth ที่ใช้ทั้งนี้ เช่น backup traffic และ data recovery traffic
เราจำเป็นต้องหมั่นตรวจสอบการใช้บริการอยู่เสมอ เพื่อให้ทรัพยากรได้ถูกใช้งานอย่างเต็มที่ไม่สูญเปล่าเพื่อประหยัดต้นทุนให้ได้มากที่สุด
ข้อดีของ OpEx คือ ความสามารถในการปรับเปลี่ยนบริการให้สอดคล้องกับความต้องการที่เปลี่ยนแปลงทางธุรกิจที่มีความผันผวนได้เป็นอย่างดี สามารถทดลองใช้บริการบางอย่างเพื่อทดลองและสามารถยกเลิกได้เมื่อเสร็จสิ้น เพิ่มค่าใช้จ่ายเมื่อมีบริการที่ต้องการสูงขึ้น และลดได้เมื่อมีความต้องการที่ลดลง
Cloud Service Models
คือรูปแบบการให้บริการบน Cloud Computing โดยจะขอพูดถึงเฉพาะรูปแบบที่ได้รับความนิยม 3 ประเภทน่ะครับ คือ IaaS, PaaS และ SaaS
ขอบคุณภาพจาก robertgreiner
On-Premise
เราจะต้องดูแลทุกอย่างเองทั้งหมด ทั้ง Hardware และ Software เช่น จะตั้งค่า Network ยังไง จะ Patch OS เมื่อไหร่ ติดตั้งโปรแกรมอะไรบ้าง ไฟดับ เน็ทหลุด harddisk เสีย ต่างๆ ซึ่งปัญหาพวกนี้เราต้องดูแลเองทั้งหมดเลย
Infrastructure as a Service (IaaS)
เป็นรูปแบบการให้บริการพื้นฐานบน Cloud Cumputing เหมาะสำหรับสถานะการณ์ที่เราอยากจะได้เครื่องเซิฟเวอร์ไปใช้งาน แต่ให้ Cloud Provider เป็นผู้ดูแล Physical Infrastructure โดยเราจะเน้นไปที่ความยืดหยุ่นในการใช้งานที่มากที่สุด เช่นเราสามารถจัดการได้ว่าจะ Patch OS เมื่อไหร่ จะติดตั้งโปรแกรม หรือลง Antivirus โดย
เป็นรูปแบบที่ย้ายจาก On-Premises มาง่ายที่สุด (“Lift & Shift”)
ตัวอย่างบริการ: Container Service, Virtual Machines, Azure Storage Accounts
Platform as a Service (PaaS)
เป็นบริการมุ่งเน้นไปที่การอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้บริการสามารถสร้างแอปพลิเคชันได้อย่างรวดเร็ว โดยไม่ต้องกังวลกับ Infrastructure เพราะเราเน้นดูแค่ โปรแกรมและข้อมูลที่ใช้ ส่วนอื่นๆทาง Azure จะเป็นคนดูแลให้ครับ เช่น Windows เราก็ไม่ต้องคอย update หรือ จัดการกับความปลอดภัยต่างๆด้วยตัวเราเอง
ตัวอย่างบริการ: Azure App Service, Azure SQL Database, Azure Functions
Software as a Service (SaaS)
เป็นบริการที่มีไว้เพื่อเน้นให้ End Customer ใช้งานโปรแกรมที่อยู่บนคลาว์อย่างเดียวเท่านั้น ดังนั้นในระดับนี้เราจะไม่ต้องไปยุ่งอะไรกับการตั้งค่าเลย
ตัวอย่างบริการ: Dynamics 365, Outlook, Office 365
ภาพเปรียบเทียบความสามารถในการจัดการ IaaS, PaaS, SaaS จาก nigelfrank.com ซึ่งเราจะพบว่า IaaS สามารถควบคุมได้มากสุด (แต่ก็แลกมากด้วยเวลาในการดูแลรักษาที่เยอะกว่า) จนมาถึง SaaS ที่ควบคุมได้น้อยแต่ใช้งานได้เร็วครับ
ถ้าใครสนใจเนื้อหาประเภทของ Cloud Services ต่างๆ ผมขอแนะนำบทความจาก สลัดผัก น่ะครับ
Cloud Deployment Models
Public Cloud
เป็นรูปแบบบริการที่นิยมมากที่สุด เพราะลูกค้าไม่ต้องดูแล Hardware เอง ให้ Cloud Provider เป็นผู้ดูแลและปรับปรุงให้ระบบทันสมัยอยู่ตลอดเวลา เข้าถึงด้วย Internet ช่วยลดต้นทุนโดยการแชร์ทรัพยากรกับผู้ใช้บริการรายอื่นๆ ด้วย
ข้อดีของ Public Cloud คือ จ่ายค่าบริการตามการใช้งานจริง ไม่มี CapEx (ค่าใช้จ่ายล่วงหน้า), เราไม่ต้องรับภาระในการบำรุงรักษาหรืออัปเดตฮาร์ดแวร์ ทำให้ได้ ความสามารถในการปรับขนาดของบริการได้อย่างรวดเร็ว, ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ในการติดตั้งและใช้งานมากนัก
Private Cloud
เราติดตั้ง Cloud Environment ลงใน Data-center ของเราเอง จัดการกำหนดสิทธิการเข้าถึงทรัพยากรเพื่อใช้ภายในองค์กรของเรา โดยเราต้องรับภาระเพิ่มเติมในการการจัดซื้อและบำรุงรักษา Hardware และ Software
ข้อดีของ Private Cloud คือ รองรับการทำงานในองกรณ์ได้เต็มที่, เชื่อมต่อด้วย Network ภายใน, ควบคุมจัดการทรัพยากรได้มาก, ทรัพยากรไม่ได้ถูกแบ่งกับบุคคลหรือองค์กรภายนอก
Hybrid Cloud
เป็นรูปแบบผสมระหว่าง Public และ Private Cloud เพื่อปรับใช้ทรัพยากรที่ตอบโจทย์ขององค์กร เช่น ในกรณีที่เราไม่สามารถนำข้อมูลบางอย่างขึ้น Public Cloud ได้เนื่องด้วยข้อจำกัดด้านกฎหมาย เช่น เรามีข้อมูลทางการแพทย์ที่ไม่สามารถเปิดเผยต่อสาธารณะได้ทำให้เราจำต้องเก็บไว้ในฐานข้อมูลส่วนตัวเท่านั้น เราจึง Host Web Application บน Public Cloud แต่เชื่อมต่อมายัง Database ที่มีความปลอดภัยสูงที่อยู่ใน Private Cloud ของเรา
ข้อดีของ Hybrid Cloud คือ มีทางเลือกในการควบคุมต้นทุน (Economies of Scale) โดยเลือกใช้ Public Cloud ในกรณีที่ต้นทุนที่ต่ำกว่า หรือใช้ Private Cloud ในกรณีที่ Public Cloud มีต้นทุนที่สูงกว่า, รวมไปถึงการควบคุมด้าน Security, Compliance และ รองรับ Legacy Applications ขององค์กร
เนื้อหาเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับการสอบครับ
- Digital Skill — Azure Fundamentals (ภาษาไทย)
- ExamTopics — AZ-900 Exam Actual Questions
- Facebook — Data TH.com — Data Science ชิลชิล (ภาษาไทย)
- Github — Microsoft Certified Azure Fundamentals (ภาษาไทย)
- Medium — Azure AZ-900 Exam Preparation Guide: How to pass in 3 days
- Medium — วีธีลงทะเบียนสอบ AZ-900 Online ที่บ้านด้วย Azure Exam Voucher
- Medium — AZ-900 รีวิวแนวข้อสอบและวิธีลงสอบที่ศูนย์สอบ
- Medium — AZ-900 สรุปละเอียดสุดๆ
- Microsoft Learn-Azure Fundamentals
- Udemy — Microsoft Azure — Beginner’s Guide + AZ-900 (มีค่าใช้จ่าย)
- WhizLabs — AZ-900 (มีค่าใช้จ่าย)
- Workshop เล็กๆจาก Microsoft สำหรับ AZ-900 ครับผม
สรุป
เนื้อหาในบทความนี้เป็นการปูทางความรู้ในด้าน Cloud Computing ที่ช่วยให้เราเข้าใจรูปแบบและบริการของ Cloud มากยิ่งขึ้นน่ะครับ เพื่อช่วยให้ผู้อ่านที่กำลังสนใจจะสอบ Microsoft Certified: Azure Fundamentals (AZ-900) ได้เข้าใจเนื้อหาเพื่อเตรียมตัวในการสอบมาก
ในบทถัดไปจะเป็นรายละเอียดที่เกี่ยวกับ Azure มากขึ้นน่ะครับ
- Introduction to Microsoft Azure
- Azure architecture and service guarantees
- Create an Azure account
- Manage services with the Azure portal